#: locale=en ## Action ### PDF PopupPDFBehaviour_A424D07B_B8A3_F3F0_41E2_F3F7E484D033.url = files/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%20%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4_en.pdf PopupPDFBehaviour_C8070177_8155_E574_41AB_52D1D5BD85AE.url = files/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%20%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4_en.pdf PopupPDFBehaviour_CC1AB4A3_8156_638C_41B5_BF5D1633933C.url = files/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4_en.pdf PopupPDFBehaviour_A427207A_B8A3_F3F0_41D7_BAAC97BA12E6.url = files/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4_en.pdf ### URL PopupWebFrameBehaviour_9F7B2740_8532_82FF_41D0_8077D907B726.url = https://072.sh/JJ5VI6d/69 PopupWebFrameBehaviour_EDA01F0C_F3C7_A2B6_41D6_CECCF0C5CC89.url = https://naruemitsilpa.net/E-Book/AfterDeath_Heaven/index.php PopupWebFrameBehaviour_A42EC05C_B8A3_F330_41D5_C87DA82C8338.url = https://naruemitsilpa.net/E-Book/AfterDeath_Heaven/index.php PopupWebFrameBehaviour_D386D92D_F3DC_AEF6_41D6_F17575C3DEEC.url = https://naruemitsilpa.net/E-Book/AfterDeath_Hell/index.php PopupWebFrameBehaviour_A420405E_B8A3_F330_41BB_392586ED4F24.url = https://naruemitsilpa.net/E-Book/AfterDeath_Hell/index.php PopupWebFrameBehaviour_B9AB9E14_9029_90D2_41DB_33CBE72899FB.url = https://naruemitsilpa.net/page/Marquee/apidham.html PopupWebFrameBehaviour_A80D2972_B000_3671_41D4_D224D0A3D147.url = https://naruemitsilpa.net/page/Marquee/benefit.html PopupWebFrameBehaviour_BA6529BE_901B_B3CE_419B_FD5B39EB8020.url = https://naruemitsilpa.net/page/Marquee/death.html PopupWebFrameBehaviour_B687402A_9018_90F6_41D3_648793291D1D.url = https://naruemitsilpa.net/page/Marquee/important.html PopupWebFrameBehaviour_BB190DB7_9018_93DE_41D7_DC8824CA158E.url = https://naruemitsilpa.net/page/Marquee/merit.html PopupWebFrameBehaviour_B8D659B6_9019_93DE_41D3_EA57E67DE363.url = https://naruemitsilpa.net/page/Marquee/question.html PopupWebFrameBehaviour_A30704FB_B8AC_DCF0_41CE_40BFAC282A88.url = https://naruemitsilpa.net/page/media_list/HeavenPlaylist.php PopupWebFrameBehaviour_A42F7060_B8A3_F310_41DE_BC868090BF98.url = https://naruemitsilpa.net/page/media_list/HeavenPlaylist.php PopupWebFrameBehaviour_A3BE64C0_B8AC_5310_41C2_1FFDA8F18F18.url = https://naruemitsilpa.net/page/media_list/HellPlaylist.php PopupWebFrameBehaviour_A4221061_B8A3_F310_41B5_48F7AAD2E8E2.url = https://naruemitsilpa.net/page/media_list/HellPlaylist.php ## Hotspot ### Text HotspotPanoramaOverlayTextImage_B2E3EB62_832D_A68C_41D4_6F1029270585.text = ความสำคัญ \ การสวดอภิธรรม HotspotPanoramaOverlayTextImage_BF17D721_8352_6E8C_41CD_0BBDEBD6D9A6.text = ธรรมเนียม \ ปฏิบัติต่อ \ ผู้ละโลก \ ไปแล้ว HotspotPanoramaOverlayTextImage_CC7F1736_81F3_AEF4_41B5_1862C87BE6BE.text = ปริศนาธรรม HotspotPanoramaOverlayTextImage_405C5371_8357_A68C_41B4_F97800620FCC.text = ฟังสวดอภิธรรม ## Media ### Audio audiores_2DB42C8F_1096_792C_418B_7283B57540B8.mp3Url = media/audio_2D227076_1096_09FC_4199_45D6365DA60F_en.mp3 audiores_85FCADA7_ABC6_9216_41C5_5307402FB7AA.mp3Url = media/audio_8020C1F2_9CAC_11A1_41E2_1C6B718B9F9B_en.mp3 audiores_835C6B7B_ABCA_96FE_4190_325E2C8FE36A.mp3Url = media/audio_81CBAF21_9CB4_32A3_41DA_AF6A931E7D4D_en.mp3 audiores_833A1F12_ABCA_AE0E_41C9_1D26AF0A798A.mp3Url = media/audio_82EB9DD2_9CB4_71E1_41D8_85A9D283FA01_en.mp3 audiores_834C7BAB_ABCA_B61E_41E3_A557409A002F.mp3Url = media/audio_A9D65914_B000_17B1_41E5_92A4A22408DD_en.mp3 audiores_8287527E_ABC9_B6F6_41D0_72B84202FB30.mp3Url = media/audio_BC81BFBC_9CAC_11A1_41DB_2D1AC68DFA16_en.mp3 audiores_82983966_ABC9_9216_41D5_1DA82386B46E.mp3Url = media/audio_BCC44C13_9C94_1667_41DD_10F102DE5B13_en.mp3 ### Image imlevel_C6BB317E_F4C5_A152_41D4_C3D86D7567F3.url = media/panorama_835885CF_9018_934E_41C4_A0AECADC4FA5_HS_6xdowsdq_en.png imlevel_C6B990D4_F4C5_DF56_41DB_B543A18F956A.url = media/panorama_835885CF_9018_934E_41C4_A0AECADC4FA5_HS_aycr6cew_en.png imlevel_C6B90148_F4C5_DEBE_41E0_A2423A95C036.url = media/panorama_835885CF_9018_934E_41C4_A0AECADC4FA5_HS_l7ygwxdo_en.png imlevel_C6DC601F_F4C5_DED2_41BF_1F09F5D9110E.url = media/panorama_835885CF_9018_934E_41C4_A0AECADC4FA5_HS_o24nn36p_en.png ### Title panorama_0C6217B3_10BE_F774_415B_E7E5F1A72D30.label = Cinema video_64F37F67_291D_9127_41C0_F7C69A48C52D.label = Funeral photo_C7F9CDD3_813E_BD8C_41C7_5232C7A9E83E.label = Info photo_C6423AC0_8F76_E78C_4194_E18640DC1774.label = P10 photo_C6420CCD_8F76_E394_41DE_D0CEB7EE7423.label = P11 photo_D80D804F_8F75_E294_41B6_B322D7A0574C.label = P14 photo_C671D25B_8F75_E6BC_41E0_8BF9ECE2AAED.label = P15 photo_C67E3467_8F75_E294_41D6_896D460D7945.label = P16 photo_C671E66F_8F75_EE94_41D0_EDE4A4A272F2.label = P17 photo_C67E286B_8F75_E29C_41C8_7944A5E4028A.label = P18 photo_C671EA72_8F75_E68C_41DB_3A14AF4588AA.label = P19 photo_C6EC3A74_8F76_E774_41C2_42B0CAADACB0.label = P2 photo_C67E0C69_8F75_E29C_41BE_8406C37232EE.label = P20 photo_C671CE6A_8F75_DE9C_41DF_70D2213C3393.label = P21 photo_D891EABF_8F72_67F4_41DF_D23D1F9C2DB5.label = P23 photo_C676CCCB_8F72_639C_41CB_B08DCC9DE655.label = P24 photo_C676CECE_8F72_7F94_41E0_09C9C798A04E.label = P25 photo_C66900EC_8F72_6394_41D7_CECB1DD50722.label = P26 photo_C676B2F1_8F72_678C_41DF_0691EBBA69ED.label = P27 photo_C676F4E0_8F72_638C_41CF_96852DAF8680.label = P28 photo_C676A6CC_8F72_6F94_41D8_88B422F47CA9.label = P29 photo_C6426CA6_8F76_E394_41A3_A7FCE406460B.label = P3 photo_C676D8C7_8F72_6394_41E0_51829DD2DD92.label = P30 photo_C6769ABF_8F72_67F4_41D6_2B46A877E93C.label = P31 photo_C676CCC0_8F72_638C_41C0_A6AD342BDB50.label = P32 photo_C6767EC0_8F72_5F8C_41AD_2ECB1CB33C32.label = P33 photo_C67730B5_8F73_A3F4_41C2_167EBA18EB85.label = P34 album_A88DB5DE_80DE_ADB4_41C3_10AC93B6AE10_0.label = P38 album_A88DB5DE_80DE_ADB4_41C3_10AC93B6AE10_1.label = P39 photo_C642DEAA_8F76_FF9C_41C7_36C0EE3A301C.label = P4 album_A88DB5DE_80DE_ADB4_41C3_10AC93B6AE10_2.label = P40 album_A88DB5DE_80DE_ADB4_41C3_10AC93B6AE10_3.label = P41 album_A88DB5DE_80DE_ADB4_41C3_10AC93B6AE10_4.label = P42 photo_D88EF462_8F72_A28C_41CF_C6E41C993CBF.label = P43 photo_C65A1695_8F72_AFB4_41C0_39D93865BA4F.label = P44 album_8DAD4F7B_ABC6_AEFE_41C0_4BA0E4934EDA_0.label = P45 album_8DAD4F7B_ABC6_AEFE_41C0_4BA0E4934EDA_1.label = P46 album_8DAD4F7B_ABC6_AEFE_41C0_4BA0E4934EDA_2.label = P47 album_8DAD4F7B_ABC6_AEFE_41C0_4BA0E4934EDA_3.label = P48 album_8DAD4F7B_ABC6_AEFE_41C0_4BA0E4934EDA_4.label = P49 photo_C64230D5_8F76_E3B4_41DB_9E9C283CA268.label = P5 album_8DAD4F7B_ABC6_AEFE_41C0_4BA0E4934EDA_5.label = P50 album_8DAD4F7B_ABC6_AEFE_41C0_4BA0E4934EDA_6.label = P51 album_8DAD4F7B_ABC6_AEFE_41C0_4BA0E4934EDA_7.label = P52 album_8DAD4F7B_ABC6_AEFE_41C0_4BA0E4934EDA_8.label = P53 album_8DAD4F7B_ABC6_AEFE_41C0_4BA0E4934EDA_9.label = P54 photo_C64212DE_8F76_E7B4_41DE_C34939F2D4FA.label = P6 photo_C642C4E3_8F76_E38C_41BC_0A9A3E09ABF5.label = P7 photo_C642C6CB_8F76_EF9C_41D5_FBE7DF162699.label = P8 photo_C64228C7_8F76_E394_41DB_1D67F0CC990A.label = P9 album_C7C7BD82_8153_DD8C_41C9_B377B9171555.label = Photo Album S__13738159 photo_C2D34E9E_81F2_BFB4_41AC_BD060882D6FA.label = Question1 photo_C3EC15C3_81D2_AD8C_41CB_079FB6A885CA.label = Question2 album_C7C7BD82_8153_DD8C_41C9_B377B9171555_0.label = S__13738159 album_C7C7BD82_8153_DD8C_41C9_B377B9171555_1.label = S__13738161 album_C7C7BD82_8153_DD8C_41C9_B377B9171555_2.label = S__13738162 album_C7C7BD82_8153_DD8C_41C9_B377B9171555_3.label = S__13738163 album_C7C7BD82_8153_DD8C_41C9_B377B9171555_6.label = S__13738164 album_C7C7BD82_8153_DD8C_41C9_B377B9171555_4.label = S__13738165 album_C7C7BD82_8153_DD8C_41C9_B377B9171555_5.label = S__13738166 photo_C6866457_815D_E2B4_41A8_267A2FFA0852.label = S__13738170 photo_BAAD8552_815D_E28C_41D7_AD44BA965EE0.label = S__13738172 photo_BAB626DA_815D_EFBC_41CD_F3D1C13896D6.label = S__13738173 photo_BAB5985D_815D_E2B4_41CF_81ACB9622FF2.label = S__13738174 photo_BAB629DD_815D_E5B4_41D3_55E69390F0AF.label = S__13738175 photo_BAB5EB68_815D_E69C_41C1_53A8CAD47DF6.label = S__13738176 photo_BAB60CF0_815D_E38C_4192_7F76AB9B0B48.label = S__13738177 photo_BAB5FE75_815D_FF74_41DE_D12AB09B7B81.label = S__13738178 photo_BAB61FF9_815D_FD7C_41D5_D0DB3E7D51B0.label = S__13738179 photo_BAB5C179_815D_E57C_41D0_8B87D1BAFE37.label = S__13738180 photo_BAB672EF_815D_E794_41D9_44D790B06E3C.label = S__13738181 photo_BAB63475_815D_E374_41DE_B9D541C84424.label = S__13738183 photo_BAB645F9_815D_ED7C_41A6_8C283ECD2AB8.label = S__13738184 panorama_835885CF_9018_934E_41C4_A0AECADC4FA5.label = ap001 panorama_64489F0B_778F_FE3D_41D9_2C395D096426.label = ap004 panorama_64489663_778F_EEED_41D8_9548C328F2D6.label = ap005 panorama_6448EDEB_7788_1DFD_41CF_1A43CFB3D9A2.label = ap006 panorama_849D4E42_9018_90B6_41B6_987445DACBC4.label = ap007 panorama_96CDBD5B_80D6_62BC_41D0_75F5A36E1D64.label = apidham01 album_A89E7F18_80DE_5EBC_41C0_DF56EA3D9FD3.label = การจัดงานบำเพ็ญกุศล album_A88DB5DE_80DE_ADB4_41C3_10AC93B6AE10.label = การจัดงานสลายร่าง album_8DAD4F7B_ABC6_AEFE_41C0_4BA0E4934EDA.label = การอุทิศบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับ album_A88B47AC_80DE_ED94_41C6_8A26D411B04C.label = ข้อปฏิบัติหลังสลายร่าง album_A8BF081F_80DE_A2B4_41B2_AAFB4A1AB95B.label = ข้อพึงปฏิบัติต่อผู้ใกล้ละโลก album_B2A59D85_8336_5D94_41D6_2322E22BC3B6.label = ปริศนาธรรม video_A8C02BB9_8356_65FC_41CF_9259789EC09D.label = พระกีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในทางทรงจีวร เศร้าหมอง video_BA2EE892_8356_E38C_41D2_38A3E6552C56.label = สวดอภิธรรม album_A8E02FA1_80DF_DD8C_41D4_C605ABF1AE11.label = เมื่อบุคคลอันเป็นที่รักละสังขาร ### Video videolevel_A4712B82_8556_8183_4195_2E6D8A202446.url = media/video_64F37F67_291D_9127_41C0_F7C69A48C52D_en.mp4 videolevel_A4712B82_8556_8183_4195_2E6D8A202446.posterURL = media/video_64F37F67_291D_9127_41C0_F7C69A48C52D_poster_en.jpg videolevel_A4731BB5_8556_8181_41B1_9A8D4AD6F09E.url = media/video_A8C02BB9_8356_65FC_41CF_9259789EC09D_en.m3u8 videolevel_A5900CF6_8553_8783_41B2_AED286C46C73.url = media/video_A8C02BB9_8356_65FC_41CF_9259789EC09D_en.mp4 videolevel_A4731BB5_8556_8181_41B1_9A8D4AD6F09E.posterURL = media/video_A8C02BB9_8356_65FC_41CF_9259789EC09D_poster_en.jpg videolevel_A5900CF6_8553_8783_41B2_AED286C46C73.posterURL = media/video_A8C02BB9_8356_65FC_41CF_9259789EC09D_poster_en.jpg videolevel_9BDCC190_8553_819F_41C4_2CCA610CE444.url = media/video_BA2EE892_8356_E38C_41D2_38A3E6552C56_en.m3u8 videolevel_9BDCB190_8553_819F_41CD_6C82F6AB8127.url = media/video_BA2EE892_8356_E38C_41D2_38A3E6552C56_en.mp4 videolevel_9BDCC190_8553_819F_41C4_2CCA610CE444.posterURL = media/video_BA2EE892_8356_E38C_41D2_38A3E6552C56_poster_en.jpg videolevel_9BDCB190_8553_819F_41CD_6C82F6AB8127.posterURL = media/video_BA2EE892_8356_E38C_41D2_38A3E6552C56_poster_en.jpg ### Video Subtitles ## Popup ### Title window_A80CD976_B000_3671_41C1_ACBC39EBF3D9.title = การทำบุญให้คนตาย ธรรมเนียมปฏิบัติต่อผู้ละโลกไปแล้ว window_BB194DB8_9018_93D2_41BF_BE0B5C306806.title = การทำบุญให้คนตาย ธรรมเนียมปฏิบัติต่อผู้ละโลกไปแล้ว window_B8D799B7_9019_93DE_41D5_FE77991615B1.title = ข้อคิดปริศนาธรรมพิธีงานศพ window_154D166B_33A0_7E33_41C0_C481B02873C1.title = ความสำคัญการมาฟังสวดพระอภิธรรม window_A42F0062_B8A3_F310_41CB_E1D10BF7CE57.title = ความสำคัญการมาฟังสวดพระอภิธรรม window_B680A02B_9018_90F6_41BC_6BE326E088EC.title = ความสำคัญการสวดอภิธรรม window_B9A52E14_9029_90D2_41D1_FDA9FA853568.title = ความหมายบทสวดอภิธรรม window_BA64E9BE_901B_B3CE_41D7_CD69D6E90ADF.title = ตายแล้วไปไหน ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร window_A425107B_B8A3_F3F0_41D2_3917D46BA6AB.title = ตายแล้วไปไหน ภาคทุคติ window_D387492D_F3DC_AEF6_41DC_11CEEC1E85A7.title = ตายแล้วไปไหน ภาคทุคติ window_A420805F_B8A3_F330_41DB_CD89E770B07C.title = ตายแล้วไปไหน ภาคทุคติ window_C8055179_8155_E57C_41AD_84F4E6D3E688.title = ตายแล้วไปไหน ภาคทุคติ window_EDA37F0E_F3C7_A2B2_41E0_DE0857FD3C17.title = ตายแล้วไปไหน ภาคสุคติ window_CC19F4A2_8156_638C_41E0_511AF527B7E2.title = ตายแล้วไปไหน ภาคสุคติ window_A427707A_B8A3_F3F0_41E1_A99B2C4C96B0.title = ตายแล้วไปไหน ภาคสุคติ window_A42DE05D_B8A3_F330_41C8_86B3F2AF320E.title = ตายแล้วไปไหน ภาคสุคติ window_A3BE14C1_B8AC_5310_41E5_C5BA872F3DD3.title = ผลจากการทำบาป-นรก window_A4222061_B8A3_F310_41BF_5FC1310D53A1.title = ผลจากการทำบาป-นรก window_A42F8060_B8A3_F310_41C6_F8B86911D330.title = ผลจากการทำบุญ-สวรรค์ window_A30764FE_B8AC_DCF0_41CF_41E1990D98B9.title = ผลจากการทำบุญ-สวรรค์ window_A7325BAE_8376_E594_41C7_8BD85A43CAE2.title = พระกีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในทางทรงจีวร เศร้าหมอง window_A4212071_B8A3_F3F0_41E2_4CE233E4731F.title = พระกีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในทางทรงจีวร เศร้าหมอง window_9F77C74C_8532_8287_41BD_91C8073D2678.title = แผ่นพับสรุปสาระสำคัญ 'สิ่งที่ควรทำเมื่อไปงานบำเพ็ญกุศล' ## Right Click Menu ### Text TDVAuthor.label = กองนฤมิตศิลป์ สถาบันพุทธศิลป์แห่งโลก ## Skin ### Button Button_9B391AC9_80D2_E79C_41D2_F40F5BE68126.label = การจัดงานบําเพ็ญกุศล Button_9B391AC9_80D2_E79C_41D2_F40F5BE68126_mobile.label = การจัดงานบําเพ็ญกุศล Button_9B264AC9_80D2_E79C_41C2_FD736F8131D2.label = การจัดงานสลายร่าง (ฌาปนกิจ) Button_9B264AC9_80D2_E79C_41C2_FD736F8131D2_mobile.label = การจัดงานสลายร่าง (ฌาปนกิจ) Button_9B27DACA_80D2_E79C_415E_8C340D53DC7D_mobile.label = การอุทิศบุญแด่ผู้ล่วงลับ Button_9B27DACA_80D2_E79C_415E_8C340D53DC7D.label = การอุทิศบุญแด่ผู้ล่วงลับ Button_9B26CAC9_80D2_E79C_41D1_F108923ECE7B_mobile.label = ข้อควรปฏิบัติหลังการสลายร่าง Button_9B26CAC9_80D2_E79C_41D1_F108923ECE7B.label = ข้อควรปฏิบัติหลังการสลายร่าง Button_9B398AC8_80D2_E79C_41CA_2FC45022C7F3_mobile.label = ข้อพึงปฏิบัติ ต่อผู้ใกล้ละโลก Button_9B398AC8_80D2_E79C_41CA_2FC45022C7F3.label = ข้อพึงปฏิบัติต่อผู้ใกล้ละโลก Button_9B269AC8_80D2_E79C_41D6_82829FE0D8F7_mobile.label = เมื่อบุคคลอันเป็นท่ีรัก ละสังขาร Button_9B269AC8_80D2_E79C_41D6_82829FE0D8F7.label = เมื่อบุคคลอันเป็นท่ีรักละสังขาร ### Image Image_42105097_5428_D5B6_41C6_5588F2323EA1.url = skin/Image_42105097_5428_D5B6_41C6_5588F2323EA1_en.jpg Image_42105097_5428_D5B6_41C6_5588F2323EA1_mobile.url = skin/Image_42105097_5428_D5B6_41C6_5588F2323EA1_mobile_en.jpg Image_9B384AC8_80D2_E79C_41D8_85DA132426E6.url = skin/Image_9B384AC8_80D2_E79C_41D8_85DA132426E6_en.png Image_9B384AC8_80D2_E79C_41D8_85DA132426E6_mobile.url = skin/Image_9B384AC8_80D2_E79C_41D8_85DA132426E6_mobile_en.png Image_C8183138_8136_A2FC_41DE_79C8BB26D398.url = skin/Image_C8183138_8136_A2FC_41DE_79C8BB26D398_en.jpg Image_C8183138_8136_A2FC_41DE_79C8BB26D398_mobile.url = skin/Image_C8183138_8136_A2FC_41DE_79C8BB26D398_mobile_en.jpg Image_CB4C7268_8132_A69C_41D7_D20D89087024.url = skin/Image_CB4C7268_8132_A69C_41D7_D20D89087024_en.jpg Image_CB4C7268_8132_A69C_41D7_D20D89087024_mobile.url = skin/Image_CB4C7268_8132_A69C_41D7_D20D89087024_mobile_en.jpg Image_CE115010_813F_E28C_41B3_B8C02327B22B.url = skin/Image_CE115010_813F_E28C_41B3_B8C02327B22B_en.jpg Image_CE115010_813F_E28C_41B3_B8C02327B22B_mobile.url = skin/Image_CE115010_813F_E28C_41B3_B8C02327B22B_mobile_en.jpg Image_CED56D61_81DE_A28C_41D4_5B66706AFE14.url = skin/Image_CED56D61_81DE_A28C_41D4_5B66706AFE14_en.jpg Image_CED56D61_81DE_A28C_41D4_5B66706AFE14_mobile.url = skin/Image_CED56D61_81DE_A28C_41D4_5B66706AFE14_mobile_en.jpg Image_CFD65C1E_81D2_A2B4_41DF_6744DBA9AEC6.url = skin/Image_CFD65C1E_81D2_A2B4_41DF_6744DBA9AEC6_en.jpg Image_CFD65C1E_81D2_A2B4_41DF_6744DBA9AEC6_mobile.url = skin/Image_CFD65C1E_81D2_A2B4_41DF_6744DBA9AEC6_mobile_en.jpg ### Multiline Text HTMLText_3C482992_270A_91F9_4193_468630DF4FB6.html =
ข้อพึงปฏิบัติ
ต่อผู้ใกล้ละโลก
HTMLText_39F02B52_2716_F179_41A1_E0AA896AE640.html =
การจัดงานบําเพ็ญกุศล
HTMLText_39FED458_271A_7769_41B4_3B20C0E63663.html =
การจัดงานสลายร่าง (ฌาปนกิจ)
HTMLText_07E4B64B_271E_736F_41A8_ED0D2F72C578.html =
การอุทิศบุญ
แด่ผู้ล่วงลับ
HTMLText_076E6DA2_271E_F1D9_41C0_2EAE51584937.html =
ข้อควรปฏิบัติ
หลังการสลายร่าง
HTMLText_382FF0FE_2716_AF29_41AE_BC4F841B9A99.html =
เมื่อบุคคลอันเป็น
ท่ีรักละสังขาร
HTMLText_42109097_5428_D5B6_41CE_AC5A694142D8_mobile.html =
_________________________
การฟังธรรมตามกาลเป็นมงคลอย่างยิ่ง และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกชีวิต เพราะจะทำให้เรารู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้ รู้แล้วก็จะได้แจ่มแจ้งในธรรมนั้นยิ่งๆ ขึ้นไป และช่วยคลายความสงสัยที่ติดค้างอยู่ในใจลงได้ การฟังธรรมจะทำให้จิตใจผ่องใส ด้วยจิตที่เลื่อมใสในพระธรรมอันประเสริฐ ย่อมทำให้ผู้ฟังไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หรือแม้ฟังยังไม่เข้าใจลึกซึ้ง แต่ความรู้ที่ได้ยินได้ฟังมานั้น จะเป็นอุปนิสัยติดตัวไปในภพชาติเบื้องหน้า และเป็นเหตุให้บรรลุธรรมาภิสมัยได้ในที่สุด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า
“ยถาปิ รหโท คมฺภีโร วิปฺปสนฺโน อนาวิโล
เอวํ ธมฺมานิ สุตฺวาน วิปฺปสีทนฺติ ปณฺฑิตา
บัณฑิตทั้งหลาย ฟังธรรมแล้ว ย่อมมีจิตผ่องใส เหมือนห้วงนํ้าลึก ที่ใสสะอาด ไม่มีความขุ่น”
ปรารภเหตุวัดพระธรรมกายได้จัดให้มีการฟังสวดพระอภิธรรมเนื่องในงานบำเพ็ญกุศล
คุณยายมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง มหาปูชนียาจารย์ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย ซึ่งท่านได้ละสังขารด้วยโรคชรารวมสิริอายุได้ ๙๒ ปี ทุกๆ คืนจะมีเหล่าศิษยานุศิษย์ ต่างตั้งใจเดินทางมาร่วมบำเพ็ญกุศลกับคุณยายกันอย่างเนืองแน่นมาฟังพระสวดพระอภิธรรม
และฟังธรรมจากพระเถรานุเถระที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาเทศน์และเล่าถึงคุณธรรม
ของคุณยายเป็นประจำ
หลวงพ่อจึงขอนำเรื่องการฟังสวดพระอภิธรรมมาเล่าให้ทุกท่านได้ศึกษากันเอาไว้ว่า พระอภิธรรมคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ใครเป็นผู้แสดงอภิธรรมเป็นคนแรก หากฟังด้วยจิตที่เลื่อมใสแล้ว สามารถนำเราไปสู่สุคติสวรรค์ได้อย่างไร หัวใจของพระอภิธรรมนั้นเป็นเรื่องของจิต เจตสิก รูป นิพพาน ว่ามีลักษณะอย่างไร การทำงานของจิต เจตสิกเป็นอย่างไร รูปและนิพพานมีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนมาก
อภิธรรม คือธรรมะขั้นสูงที่พิเศษกว่าพระสูตร สำหรับพระอภิธรรมที่เราได้ฟังกันทุกคืนนั้น ส่วนใหญ่พระท่านจะสวดบทพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ได้แก่ คัมภีร์ธรรมสังคณี คัมภีร์วิภังค์ คัมภีร์กถาวัตถุ คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ คัมภีร์ธาตุกถา คัมภีร์ยมก คัมภีร์ปัฏฐาน
มีผู้รู้ได้อุปมาเอาไว้ว่า พระอภิธรรมปิฎกมีความสำคัญเปรียบเสมือนรากแก้ว พระวินัยปิฎกประหนึ่งลำต้น พระสุตตันตปิฎกเหมือนกิ่งก้านสาขา หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าจะเปรียบกับร่างกาย พระอภิธรรมปิฎกเหมือนกับหัวใจ พระวินัยปิฎกเหมือนกับชีวิต พระสุตตันตปิฎกเหมือนอวัยวะร่างกาย ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ พระอภิธรรมจึงมีความสำคัญที่สุด เป็นความรู้ระดับสูงที่ท่านเรียกว่า ปรมัตถธรรม คือเป็นธรรมะที่มีเนื้อหาสาระที่ลึกซึ้ง
คำสอนทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็นพระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ ส่วนพระอภิธรรมปิฎก มีมากถึง ๔๒,๐๐๐ เพราะฉะนั้น อภิธรรมปิฎกจึงมีความสำคัญมาก ที่พวกเราเหล่าพุทธศาสนิกชนควรหาโอกาสศึกษาและรับฟังจากผู้ที่ได้ศึกษามาอย่างดีแล้ว
ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใหม่ๆ พระองค์ก็ทรงย้อนกลับมาพิจารณาพระอภิธรรม ทบไปทวนมาถึงความรู้อันสุขุมลุ่มลึกนี้นานถึง ๑ สัปดาห์ เพื่อจะให้ทรงแตกฉานและรู้แจ้งยิ่งๆ ขึ้นไป แล้วทรงนำไปแนะนำสั่งสอนเหล่าเวไนยสัตว์ให้รู้แจ้งเห็นจริงตามพระองค์ไปด้วย สมัยนั้นพระพุทธองค์ทรงนั่งขัดสมาธิ(Meditation)เสวยวิมุตติสุขตลอด ๑ สัปดาห์ ต่อจากนั้นพระพุทธองค์เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมซึ่งอยู่ระหว่างรัตนบัลลังก์กับที่เสด็จประทับยืน ใช้เวลา ๑ สัปดาห์ พอสัปดาห์ที่ ๓ เหล่าเทวดาเนรมิตเรือนแก้วขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จนั่งขัดสมาธิที่เรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาอภิธรรมปิฎกคือสมันตปัฏฐาน ซึ่งมีนัยที่ไม่สิ้นสุด ทรงใช้เวลานานถึง ๑ สัปดาห์ทีเดียว
เนื่องจากว่าบุคคลอื่นไม่มีปรีชาสามารถพอที่จะกล่าวจำแนกอภิธรรมปิฎกได้ เพราะเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เมื่อทรงจำแนกได้อย่างละเอียดละออ แล้วค่อยๆ นำมาถ่ายทอดให้เหล่าพระสาวกได้รับฟังกัน เช่นพระองค์ทรงพิจารณาสมันตปัฏฐานอนันตนัย ๒๔ อย่าง ว่ามีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง พระองค์ทรงกำหนดรู้หมด ทบไปทวนมา ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลมจนชำนาญ ทรงทราบว่า ธรรมนี้ชื่อสติปัฏฐาน ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ เหตุ ๙ อาหาร ๔ ผัสสะ ๗ เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗ ธรรมทั้งหมดเหล่านี้ แบ่งเป็นกามาวจรธรรม รูปาวจรปริยาปันนธรรม อรูปาวจรอปริยาปันนธรรม โลกิยธรรม โลกุตตรธรรม พระองค์ทรงมีพระปรีชาญาณเป็นเยี่ยม จึงจำแนกได้อย่างละเอียดละอออย่างนี้
การพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้เข้าใจได้ว่า พระอภิธรรมมีนัยลึกซึ้งสุขุมลุ่มลึกยิ่งนัก เพราะหากกล่าวถึงพระวินัยเป็นเรื่องของศีล หรือคำสั่งให้ปฏิบัติตาม บางยุคบางสมัยพระพุทธองค์ก็บัญญัติพระวินัยไว้เพียงเล็กน้อย เพราะเหล่าสาวกตั้งใจปฏิบัติตามคำสอน จึงไม่มีข้อห้ามมากมายนัก ส่วนพระสูตรเป็นเรื่องของสมาธิหรือคำสอน ที่พระองค์ทรงนำมาถ่ายทอดให้เหล่าสาวกได้นำไปปฏิบัติให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งต้องอาศัยการทำสมาธิจึงจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้ ส่วนพระอภิธรรมนั้น แม้จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลก็ยังต้องศึกษาธรรมะขั้นสูงต่อไปอีก
* พระพุทธองค์ทรงเริ่มแสดงพระอภิธรรม หลังจากทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ปราบพวกเดียรถีย์ที่โคนต้นคัณฑามพฤกษ์มะม่วงหอมเสร็จแล้ว ก็ทรงเสด็จเหาะขึ้นไปเพื่อจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกเทวราชทอดพระเนตรเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จลุกขึ้นจากบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ รีบเสด็จไปต้อนรับพร้อมด้วยหมู่เทพยดา พวกเทวดาต่างพากันคิดว่า ท้าวสักกะแวดล้อมไปด้วยหมู่เทพ ประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ยาว ๖๐ โยชน์ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าประทับนั่งแล้ว คนอื่นก็ไม่สามารถจะวางแม้แต่ฝ่ามือลง ณ พระแท่นนี้ได้ ฝ่ายพระบรมศาสดาทรงทราบวาระจิตของเหล่าทวยเทพ จึงใช้พุทธานุภาพประทับนั่ง จนเต็มบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์จึงดูเหมือนเล็กนิดเดียว
เมื่อเทพบุตรพุทธมารดาซึ่งเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต ทราบว่าพระบรมศาสดาเสด็จมาแสดงธรรม จึงเสด็จจากดุสิตบุรีพร้อมด้วยเทพบริวารมากมายเพื่อมาฟังธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มแสดงพระอภิธรรมปิฎก ตั้งแต่ กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา เป็นต้นไป เพื่อโปรดทวยเทพในหมื่นจักรวาล ทำให้เทพบุตรเทพธิดาบรรลุธรรมกันนับไม่ถ้วน
ส่วนพุทธบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ซึ่งตัดสินใจตั้งหลักแหล่งอยู่ใกล้ๆ บริเวณต้นมะม่วงตลอด ๓ เดือน เพื่อรอรับพระพุทธองค์ และด้วยจิตที่เลื่อมใสในรัตนะอันเลิศ ท่านจุลลอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้บริจาคทานให้กับพุทธบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ตลอด ๓ เดือน ในฤดูกาลนั้น ฝนฟ้าไม่ตก อากาศแจ่มใสตลอดเวลา ทุกคนต่างก็ฟังอภิธรรมที่พระมหาโมคคัลลานะได้รับฟังมาจากพระพุทธองค์อีกทีหนึ่ง พรรษานั้นจึงเป็นพรรษาแห่งการฟังพระอภิธรรมล้วนๆ โดยเฉพาะลูกศิษย์ของพระสารีบุตร ๕๐๐ รูป ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงจำในพระอภิธรรมมากที่สุด ในที่สุดก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ เพราะท่านเคยสั่งสมเรื่องการฟังอภิธรรมมามาก
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปว่า สมัยที่พวกท่านเคยบังเกิดเป็นค้างคาวหนู ๕๐๐ ตัว ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ค้างคาวหนูอาศัยอยู่ที่เงื้อมเขาแห่งหนึ่ง ในถํ้านั้นมีพระเถระ ๒ รูปเดินจงกรม แล้วท่องบ่นพระอภิธรรมไปด้วย ค้างคาวหนูได้ฟังบ่อยๆ ก็ถือเอาเสียงนั้นเป็นนิมิตทำให้จดจำได้ แต่ไม่รู้ว่า ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าขันธ์ ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธาตุ เพราะสักแต่ว่าถือเอาเป็นนิมิตในเสียงเท่านั้น แต่ด้วยจิตที่เลื่อมใสในเสียง การฟังพระสวดพระอภิธรรมในครั้งนั้น ละโลกไปแล้วทำให้ไปบังเกิดในเทวโลก มีวิมานสว่างไสว เสวยทิพยสมบัติสิ้นพุทธันดรหนึ่ง พอจุติจากเทวโลกแล้วก็มาเกิดในกรุงสาวัตถี เมื่อเติบโตขึ้นจึงชักชวนกันบรรพชาในสำนักของพระสารีบุตรเถระ ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดา ๘ หมื่นโกฏิ และเทพบุตรพุทธมารดาก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
จะเห็นได้ว่า การฟังธรรมซึ่งเป็นความรู้อันบริสุทธิ์ ที่เกิดจากใจที่หยุดนิ่งอย่างสมบูรณ์แล้ว คือเกิดจากการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อใครได้ยินได้ฟังแล้ว แม้ว่าสติปัญญาจะไตร่ตรองตามไม่ทัน ยังแปลไม่ออก แต่ก็จะสามารถขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ และจะเป็นอานิสงส์ใหญ่ที่ส่งผลให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานอีกด้วย ดังนั้นเมื่อไปรับฟังพระสวดพระอภิธรรมที่ไหนก็ตาม ให้ตั้งใจเงี่ยโสตสดับตรับฟังให้ดี อย่าพูดคุยกัน ต้องทำใจให้สงบ ทำใจให้นิ่งๆ รับฟังด้วยจิตที่เป็นกุศล จะได้เป็นบุญใหญ่ติดตัวเราไปข้ามภพข้ามชาติ


พระธรรมเทศนาโดย: หลวงพ่อธัมมชโย
* มก. เล่ม ๔๒ หน้า ๓๐๗
HTMLText_42109097_5428_D5B6_41CE_AC5A694142D8.html =
_________________________
การฟังธรรมตามกาลเป็นมงคลอย่างยิ่ง และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกชีวิต เพราะจะทำให้เรารู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้ รู้แล้วก็จะได้แจ่มแจ้งในธรรมนั้นยิ่งๆ ขึ้นไป และช่วยคลายความสงสัยที่ติดค้างอยู่ในใจลงได้ การฟังธรรมจะทำให้จิตใจผ่องใส ด้วยจิตที่เลื่อมใสในพระธรรมอันประเสริฐ ย่อมทำให้ผู้ฟังไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หรือแม้ฟังยังไม่เข้าใจลึกซึ้ง แต่ความรู้ที่ได้ยินได้ฟังมานั้น จะเป็นอุปนิสัยติดตัวไปในภพชาติเบื้องหน้า และเป็นเหตุให้บรรลุธรรมาภิสมัยได้ในที่สุด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า
“ยถาปิ รหโท คมฺภีโร วิปฺปสนฺโน อนาวิโล
เอวํ ธมฺมานิ สุตฺวาน วิปฺปสีทนฺติ ปณฺฑิตา
บัณฑิตทั้งหลาย ฟังธรรมแล้ว ย่อมมีจิตผ่องใส เหมือนห้วงนํ้าลึก ที่ใสสะอาด ไม่มีความขุ่น”
ปรารภเหตุวัดพระธรรมกายได้จัดให้มีการฟังสวดพระอภิธรรมเนื่องในงานบำเพ็ญกุศล
คุณยายมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง มหาปูชนียาจารย์ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย ซึ่งท่านได้ละสังขารด้วยโรคชรารวมสิริอายุได้ ๙๒ ปี ทุกๆ คืนจะมีเหล่าศิษยานุศิษย์ ต่างตั้งใจเดินทางมาร่วมบำเพ็ญกุศลกับคุณยายกันอย่างเนืองแน่นมาฟังพระสวดพระอภิธรรม
และฟังธรรมจากพระเถรานุเถระที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาเทศน์และเล่าถึงคุณธรรม
ของคุณยายเป็นประจำ
หลวงพ่อจึงขอนำเรื่องการฟังสวดพระอภิธรรมมาเล่าให้ทุกท่านได้ศึกษากันเอาไว้ว่า พระอภิธรรมคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ใครเป็นผู้แสดงอภิธรรมเป็นคนแรก หากฟังด้วยจิตที่เลื่อมใสแล้ว สามารถนำเราไปสู่สุคติสวรรค์ได้อย่างไร หัวใจของพระอภิธรรมนั้นเป็นเรื่องของจิต เจตสิก รูป นิพพาน ว่ามีลักษณะอย่างไร การทำงานของจิต เจตสิกเป็นอย่างไร รูปและนิพพานมีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนมาก
อภิธรรม คือธรรมะขั้นสูงที่พิเศษกว่าพระสูตร สำหรับพระอภิธรรมที่เราได้ฟังกันทุกคืนนั้น ส่วนใหญ่พระท่านจะสวดบทพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ได้แก่ คัมภีร์ธรรมสังคณี คัมภีร์วิภังค์ คัมภีร์กถาวัตถุ คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ คัมภีร์ธาตุกถา คัมภีร์ยมก คัมภีร์ปัฏฐาน
มีผู้รู้ได้อุปมาเอาไว้ว่า พระอภิธรรมปิฎกมีความสำคัญเปรียบเสมือนรากแก้ว พระวินัยปิฎกประหนึ่งลำต้น พระสุตตันตปิฎกเหมือนกิ่งก้านสาขา หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าจะเปรียบกับร่างกาย พระอภิธรรมปิฎกเหมือนกับหัวใจ พระวินัยปิฎกเหมือนกับชีวิต พระสุตตันตปิฎกเหมือนอวัยวะร่างกาย ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ พระอภิธรรมจึงมีความสำคัญที่สุด เป็นความรู้ระดับสูงที่ท่านเรียกว่า ปรมัตถธรรม คือเป็นธรรมะที่มีเนื้อหาสาระที่ลึกซึ้ง
คำสอนทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็นพระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ ส่วนพระอภิธรรมปิฎก มีมากถึง ๔๒,๐๐๐ เพราะฉะนั้น อภิธรรมปิฎกจึงมีความสำคัญมาก ที่พวกเราเหล่าพุทธศาสนิกชนควรหาโอกาสศึกษาและรับฟังจากผู้ที่ได้ศึกษามาอย่างดีแล้ว
ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใหม่ๆ พระองค์ก็ทรงย้อนกลับมาพิจารณาพระอภิธรรม ทบไปทวนมาถึงความรู้อันสุขุมลุ่มลึกนี้นานถึง ๑ สัปดาห์ เพื่อจะให้ทรงแตกฉานและรู้แจ้งยิ่งๆ ขึ้นไป แล้วทรงนำไปแนะนำสั่งสอนเหล่าเวไนยสัตว์ให้รู้แจ้งเห็นจริงตามพระองค์ไปด้วย สมัยนั้นพระพุทธองค์ทรงนั่งขัดสมาธิ(Meditation)เสวยวิมุตติสุขตลอด ๑ สัปดาห์ ต่อจากนั้นพระพุทธองค์เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมซึ่งอยู่ระหว่างรัตนบัลลังก์กับที่เสด็จประทับยืน ใช้เวลา ๑ สัปดาห์ พอสัปดาห์ที่ ๓ เหล่าเทวดาเนรมิตเรือนแก้วขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จนั่งขัดสมาธิที่เรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาอภิธรรมปิฎกคือสมันตปัฏฐาน ซึ่งมีนัยที่ไม่สิ้นสุด ทรงใช้เวลานานถึง ๑ สัปดาห์ทีเดียว
เนื่องจากว่าบุคคลอื่นไม่มีปรีชาสามารถพอที่จะกล่าวจำแนกอภิธรรมปิฎกได้ เพราะเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เมื่อทรงจำแนกได้อย่างละเอียดละออ แล้วค่อยๆ นำมาถ่ายทอดให้เหล่าพระสาวกได้รับฟังกัน เช่นพระองค์ทรงพิจารณาสมันตปัฏฐานอนันตนัย ๒๔ อย่าง ว่ามีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง พระองค์ทรงกำหนดรู้หมด ทบไปทวนมา ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลมจนชำนาญ ทรงทราบว่า ธรรมนี้ชื่อสติปัฏฐาน ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ เหตุ ๙ อาหาร ๔ ผัสสะ ๗ เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗ ธรรมทั้งหมดเหล่านี้ แบ่งเป็นกามาวจรธรรม รูปาวจรปริยาปันนธรรม อรูปาวจรอปริยาปันนธรรม โลกิยธรรม โลกุตตรธรรม พระองค์ทรงมีพระปรีชาญาณเป็นเยี่ยม จึงจำแนกได้อย่างละเอียดละอออย่างนี้
การพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้เข้าใจได้ว่า พระอภิธรรมมีนัยลึกซึ้งสุขุมลุ่มลึกยิ่งนัก เพราะหากกล่าวถึงพระวินัยเป็นเรื่องของศีล หรือคำสั่งให้ปฏิบัติตาม บางยุคบางสมัยพระพุทธองค์ก็บัญญัติพระวินัยไว้เพียงเล็กน้อย เพราะเหล่าสาวกตั้งใจปฏิบัติตามคำสอน จึงไม่มีข้อห้ามมากมายนัก ส่วนพระสูตรเป็นเรื่องของสมาธิหรือคำสอน ที่พระองค์ทรงนำมาถ่ายทอดให้เหล่าสาวกได้นำไปปฏิบัติให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งต้องอาศัยการทำสมาธิจึงจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้ ส่วนพระอภิธรรมนั้น แม้จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลก็ยังต้องศึกษาธรรมะขั้นสูงต่อไปอีก
* พระพุทธองค์ทรงเริ่มแสดงพระอภิธรรม หลังจากทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ปราบพวกเดียรถีย์ที่โคนต้นคัณฑามพฤกษ์มะม่วงหอมเสร็จแล้ว ก็ทรงเสด็จเหาะขึ้นไปเพื่อจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกเทวราชทอดพระเนตรเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จลุกขึ้นจากบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ รีบเสด็จไปต้อนรับพร้อมด้วยหมู่เทพยดา พวกเทวดาต่างพากันคิดว่า ท้าวสักกะแวดล้อมไปด้วยหมู่เทพ ประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ยาว ๖๐ โยชน์ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าประทับนั่งแล้ว คนอื่นก็ไม่สามารถจะวางแม้แต่ฝ่ามือลง ณ พระแท่นนี้ได้ ฝ่ายพระบรมศาสดาทรงทราบวาระจิตของเหล่าทวยเทพ จึงใช้พุทธานุภาพประทับนั่ง จนเต็มบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์จึงดูเหมือนเล็กนิดเดียว
เมื่อเทพบุตรพุทธมารดาซึ่งเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต ทราบว่าพระบรมศาสดาเสด็จมาแสดงธรรม จึงเสด็จจากดุสิตบุรีพร้อมด้วยเทพบริวารมากมายเพื่อมาฟังธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มแสดงพระอภิธรรมปิฎก ตั้งแต่ กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา เป็นต้นไป เพื่อโปรดทวยเทพในหมื่นจักรวาล ทำให้เทพบุตรเทพธิดาบรรลุธรรมกันนับไม่ถ้วน
ส่วนพุทธบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ซึ่งตัดสินใจตั้งหลักแหล่งอยู่ใกล้ๆ บริเวณต้นมะม่วงตลอด ๓ เดือน เพื่อรอรับพระพุทธองค์ และด้วยจิตที่เลื่อมใสในรัตนะอันเลิศ ท่านจุลลอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้บริจาคทานให้กับพุทธบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ตลอด ๓ เดือน ในฤดูกาลนั้น ฝนฟ้าไม่ตก อากาศแจ่มใสตลอดเวลา ทุกคนต่างก็ฟังอภิธรรมที่พระมหาโมคคัลลานะได้รับฟังมาจากพระพุทธองค์อีกทีหนึ่ง พรรษานั้นจึงเป็นพรรษาแห่งการฟังพระอภิธรรมล้วนๆ โดยเฉพาะลูกศิษย์ของพระสารีบุตร ๕๐๐ รูป ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงจำในพระอภิธรรมมากที่สุด ในที่สุดก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ เพราะท่านเคยสั่งสมเรื่องการฟังอภิธรรมมามาก
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปว่า สมัยที่พวกท่านเคยบังเกิดเป็นค้างคาวหนู ๕๐๐ ตัว ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ค้างคาวหนูอาศัยอยู่ที่เงื้อมเขาแห่งหนึ่ง ในถํ้านั้นมีพระเถระ ๒ รูปเดินจงกรม แล้วท่องบ่นพระอภิธรรมไปด้วย ค้างคาวหนูได้ฟังบ่อยๆ ก็ถือเอาเสียงนั้นเป็นนิมิตทำให้จดจำได้ แต่ไม่รู้ว่า ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าขันธ์ ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธาตุ เพราะสักแต่ว่าถือเอาเป็นนิมิตในเสียงเท่านั้น แต่ด้วยจิตที่เลื่อมใสในเสียง การฟังพระสวดพระอภิธรรมในครั้งนั้น ละโลกไปแล้วทำให้ไปบังเกิดในเทวโลก มีวิมานสว่างไสว เสวยทิพยสมบัติสิ้นพุทธันดรหนึ่ง พอจุติจากเทวโลกแล้วก็มาเกิดในกรุงสาวัตถี เมื่อเติบโตขึ้นจึงชักชวนกันบรรพชาในสำนักของพระสารีบุตรเถระ ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดา ๘ หมื่นโกฏิ และเทพบุตรพุทธมารดาก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
จะเห็นได้ว่า การฟังธรรมซึ่งเป็นความรู้อันบริสุทธิ์ ที่เกิดจากใจที่หยุดนิ่งอย่างสมบูรณ์แล้ว คือเกิดจากการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อใครได้ยินได้ฟังแล้ว แม้ว่าสติปัญญาจะไตร่ตรองตามไม่ทัน ยังแปลไม่ออก แต่ก็จะสามารถขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ และจะเป็นอานิสงส์ใหญ่ที่ส่งผลให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานอีกด้วย ดังนั้นเมื่อไปรับฟังพระสวดพระอภิธรรมที่ไหนก็ตาม ให้ตั้งใจเงี่ยโสตสดับตรับฟังให้ดี อย่าพูดคุยกัน ต้องทำใจให้สงบ ทำใจให้นิ่งๆ รับฟังด้วยจิตที่เป็นกุศล จะได้เป็นบุญใหญ่ติดตัวเราไปข้ามภพข้ามชาติ


พระธรรมเทศนาโดย: หลวงพ่อธัมมชโย
* มก. เล่ม ๔๒ หน้า ๓๐๗
HTMLText_C819E138_8136_A2FC_41C2_2824BE91D2C2.html =
______
ตายแล้วไปไหน ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร


โดยทั่วไปแล้วความเข้าใจของมนุษย์ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ศึกษาคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มักจะมีความเชื่อว่า ตายแล้วสูญ ไม่มีการเกิดใหม่อีก จึงทำให้ไม่เชื่อเรื่องภพภูมิ อันเป็นสถานที่สถิตของชีวิตหลังความตาย หรือ บางคนมีศรัทธาไม่มั่นคง ศึกษาแล้วแต่ไม่ปฏิบัติ ก็จะเชื่อไม่เต็มที่ แต่ก็ดีกว่าไม่เชื่อเลย และยังมีบางคน ที่มีความเข้าใจที่ผิด เชื่อว่าสวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ ซึ่งก็หมายความว่า นรก สวรรค์ ภพภูมิไม่มีนั่นเอง ในเนื้อหาของปรโลกนี้ได้นำธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงถึงสถานที่สถิตของชีวิตหลังความตาย อันเป็นคุกที่ขังสรรพสัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้นที่เรียกว่า ปรโลก
การศึกษาเรื่องปรโลกนี้ ลำดับแรกเราจะต้องทราบถึงวิธีการเดินทางเปลี่ยนภพภูมิใหม่ โดยเริ่มต้นที่จิตของผู้ตายเคลื่อนออกจากกายมนุษย์หยาบ จากภพที่อาศัยอยู่ เมื่อจิตหลุดจากกายหยาบก็จะปฏิสนธิเป็นกายใหม่ในภพใหม่ทันที กายใหม่ที่เป็นกายละเอียดนี้ยังคงมีธาตุ 4 อย่างละเอียดเป็นส่วนประกอบ ส่วนจะไปเกิดในภพใดนั้น ก็แล้วแต่อำนาจแห่งการกระทำที่ตนทำไว้ครั้งเมื่อเป็นมนุษย์ ส่วนร่างกายที่ไม่มีจิตที่เรียกกันว่า คนตาย ก็จะแตกทำลายสลายไปสู่สภาพเดิม
สำหรับชีวิตหลังความตายที่สัตว์ทั้งหลายต้องไปเกิด ตามหลักของพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ ฝ่ายสุคติภูมิและฝ่ายทุคติภูมิ แต่หากแบ่งย่อยไปอีกก็จะแบ่งออกเป็น 3 ภพ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ และหากจะแบ่งย่อยซอยละเอียดลงไปอีก ก็จะแบ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ถึง 31 ภูมิด้วยกัน
HTMLText_C819E138_8136_A2FC_41C2_2824BE91D2C2_mobile.html =
______
ตายแล้วไปไหน ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร


โดยทั่วไปแล้วความเข้าใจของมนุษย์ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ศึกษาคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มักจะมีความเชื่อว่า ตายแล้วสูญ ไม่มีการเกิดใหม่อีก จึงทำให้ไม่เชื่อเรื่องภพภูมิ อันเป็นสถานที่สถิตของชีวิตหลังความตาย หรือ บางคนมีศรัทธาไม่มั่นคง ศึกษาแล้วแต่ไม่ปฏิบัติ ก็จะเชื่อไม่เต็มที่ แต่ก็ดีกว่าไม่เชื่อเลย และยังมีบางคน ที่มีความเข้าใจที่ผิด เชื่อว่าสวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ ซึ่งก็หมายความว่า นรก สวรรค์ ภพภูมิไม่มีนั่นเอง ในเนื้อหาของปรโลกนี้ได้นำธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงถึงสถานที่สถิตของชีวิตหลังความตาย อันเป็นคุกที่ขังสรรพสัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้นที่เรียกว่า ปรโลก
การศึกษาเรื่องปรโลกนี้ ลำดับแรกเราจะต้องทราบถึงวิธีการเดินทางเปลี่ยนภพภูมิใหม่ โดยเริ่มต้นที่จิตของผู้ตายเคลื่อนออกจากกายมนุษย์หยาบ จากภพที่อาศัยอยู่ เมื่อจิตหลุดจากกายหยาบก็จะปฏิสนธิเป็นกายใหม่ในภพใหม่ทันที กายใหม่ที่เป็นกายละเอียดนี้ยังคงมีธาตุ 4 อย่างละเอียดเป็นส่วนประกอบ ส่วนจะไปเกิดในภพใดนั้น ก็แล้วแต่อำนาจแห่งการกระทำที่ตนทำไว้ครั้งเมื่อเป็นมนุษย์ ส่วนร่างกายที่ไม่มีจิตที่เรียกกันว่า คนตาย ก็จะแตกทำลายสลายไปสู่สภาพเดิม
สำหรับชีวิตหลังความตายที่สัตว์ทั้งหลายต้องไปเกิด ตามหลักของพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ ฝ่ายสุคติภูมิและฝ่ายทุคติภูมิ แต่หากแบ่งย่อยไปอีกก็จะแบ่งออกเป็น 3 ภพ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ และหากจะแบ่งย่อยซอยละเอียดลงไปอีก ก็จะแบ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ถึง 31 ภูมิด้วยกัน
HTMLText_CFD63C1E_81D2_A2B4_41DA_559B4EE3ECCE.html =
การทำบุญให้คนตาย ธรรมเนียมปฏิบัติต่อผู้ละโลกไปแล้ว
HTMLText_CFD63C1E_81D2_A2B4_41DA_559B4EE3ECCE_mobile.html =
การทำบุญให้คนตาย ธรรมเนียมปฏิบัติต่อผู้ละโลกไปแล้ว
HTMLText_CFD7EC1E_81D2_A2B4_41D7_277E85A33929_mobile.html =
การทำบุญให้คนตายตามหลักผู้รู้ที่สมบูรณ์


หลังจากที่ญาติมิตรล่วงลับไปแล้ว มีสิ่งที่คนเป็นอยู่ต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ตาย คือ การปฏิบัติตามธรรมเนียมของท่านผู้รู้ที่สมบูรณ์ (สัพพัญญูพุทธเจ้า) คือ
1.) ไม่พึงสวดอ้อนวอนให้ไปดี หรือสาปแช่งให้ผู้ตายไปไม่ดี
ในบางลัทธิศาสนา มีการสวดอ้อนวอนให้ผู้ตายเพื่อหวังให้ผู้ตายไปแล้ว ได้ไปอยู่ร่วมกับเทพเจ้าของตน หรือไม่ก็สวดสาปแช่งศัตรูให้ไปสู่อบาย ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นนอกจากจะไม่มีประโยชน์ ยังทำให้จิตใจผู้ทำเศร้าหมองด้วยโมหะอีกด้วย เพราะผู้ทำกรรมใดไว้ในโลกนี้ ก็ย่อมต้องเสวยผลแห่งกรรมที่ตนทำเองทั้งในโลกนี้และโลกหน้า การทำเพียงสวดอ้อนวอนจึงไม่มีประโยชน์อะไร (ดูในภูมกสูตร)
2.) พึงทำบุญอุทิศให้
การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับถือว่าเป็นหน้าที่หนึ่งของคนที่ยังเป็นอยู่ทีเดียว เป็นสิ่งที่คนทุกชาติทุกศาสนาควรศึกษาไว้ให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ล่วงลับไปแล้วในภูมิอื่น (เว้นมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉาน) ย่อมไม่มีการทำมาหากินเลย ผู้ล่วงลับไปจะมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับกรรมดีกรรมชั่วที่ตนเองกระทำตอนเป็นมนุษย์ และเพราะอาศัยการทำบุญอุทิศให้ของผู้ที่ยังเป็นอยู่ในโลกมนุษย์นี้เท่านั้น และการทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับก็ต้องทำกับผู้รับที่มีศีลมีธรรมเท่านั้น เช่น พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัย บุญนั้นจึงจะถึงแก่ผู้ตายไปอย่างแน่นอน ตามภูมิตามกำเนิดที่สามารถรับผลบุญที่อุทิศให้ แต่ถ้าทำกับผู้รับที่ไม่มีศีลธรรม บุญก็จะไม่ถึงแก่ผู้ตาย
ส่วนกิจอื่น เช่น การร้องไห้คร่ำครวญ การแสดงอาการเศร้าโศก การสวดอ้อนวอนฝากกับเทพเจ้า การเล่นมหรสพ เป็นต้น ซึ่งบางท้องถิ่นยังนิยมทำกันจนเป็นประเพณี เป็นต้นว่ามีการจ้างนักร้องมาร้องเพลงเศร้า เช่น มอญครวญ มอญร้องไห้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่สมควรทำเลย เพราะไม่มีประโยชน์อะไรทั้งแก่ผู้เป็นอยู่และผู้ตาย มีแต่จะสิ้นเปลืองไป และเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี นอกจากไม่ได้บุญกุศลอะไรแล้ว ซ้ำร้ายยังทำจิตใจให้เศร้าหมองด้วยบาปอกุศลทั้งฝ่ายคนเป็นอยู่และผู้ที่ตายไปอีกด้วย เพราะทำไปด้วยความเห็นผิดเข้าใจผิด
2.1. วิธีอุทิศบุญให้ถึงแก่ผู้ตาย
นอกจากนี้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถายังแสดงว่า ทักษิณา คือผลบุญที่ญาติสาโลหิตอุทิศให้ย่อมสำเร็จผลให้เป็นสมบัติมีอาหาร ที่พัก เครื่องนุ่งห่มเป็นต้นแก่ผู้ล่วงลับในขณะนั้นได้ ก็ด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1) ด้วยการถึงพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล เช่น พระภิกษุ สามเณรผู้มีศีลบริสุทธิ์
2) ด้วยการอุทิศของทายกทั้งหลาย
3) ด้วยการอนุโมทนาด้วยตนเองของเปรตทั้งหลาย
ในองค์ประกอบทั้ง 3 นั้น องค์ที่ 1 และ 2 ขาดไม่ได้ ส่วนองค์ที่ 3 ขาดได้ เพราะแม้เปรตจะไม่อนุโมทนาบุญด้วยตนเอง บุญที่ญาติอุทิศให้ก็ยังคงไปถึงได้บ้าง หากมีผู้สงสัยว่า เปรตจำพวกไหนบ้างที่ได้สามารถได้รับผลบุญที่หมู่ญาติอุทิศให้ พระอรรถกถาจารย์ตอบว่า
“ฐานะใด ตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้น ย่อมสำเร็จผลแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในปิตติวิสัยใด ปิตติวิสัยนั้นแล เป็นฐานะดังนี้ ทักษิณาที่สำเร็จผลในฐานะนั้น อันแตกต่างกันโดยประเภทแห่งเปรตมี ขุปปิปาสิกเปรต วันตาสาเปรต ปรทัตตูปชีวีเปรต และนิชฌามตัณหิกเปรต เป็นต้น ก็ตรัสว่า ย่อมสำเร็จผลโดยฐานะ” สรุปคือ เปรตทุกจำพวกสามารถได้รับผลบุญที่ญาติมิตรอุทิศให้ได้


ข้อที่ควรคำนึงของผู้จะตาย !


จากข้อความข้างต้นนี้ มีสิ่งที่น่าพิจารณาอยู่ว่า ถ้าผู้ตายสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่เคยศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาเลย หรือศึกษาแต่ผิวเผินเพราะความไม่ใส่ใจ ไม่ทุ่มเทในการประกอบบุญกุศลในโลกนี้ เมื่อละโลกไปแล้ว แม้มีผู้อุทิศส่วนกุศลให้ แต่ตนอนุโมทนาบุญไม่เป็นก็ย่อมไม่ได้รับส่วนบุญเท่าที่ควร นี้เป็นข้อผิดพลาดของตนคือผู้ตายข้อที่ 1
หรือลูกหลานทะเลาะกันเรื่องแบ่งสมบัติ ซึ่งเราได้เห็นได้ยินกันอยู่ทั่วไป พ่อแม่จวนตาย ลูกหลานแย่งสมบัติกัน บางทีฆ่ากันตายก่อนพ่อแม่ก็มี ตนเองก็ต้องมาทุกข์ใจก่อนตาย เพราะสมบัติของตนเป็นเหตุ เมื่อตายไป จึงไม่มีใครอุทิศส่วนกุศลให้เลย เพราะตนเองมิได้คบหากับบัณฑิตทางธรรมและไมเคยทำแบบอย่างเช่นนี้ไว้ให้ลูกหลานดูเลย นี้เป็นข้อผิดพลาดของตนข้อที่ 2
และข้อสุดท้าย แม้บุตรธิดาทำบุญอุทิศให้ แต่ทำไม่ถูกเนื้อนาบุญ เช่น ทำบุญกับผู้ทุศีล มีความเห็นผิด ไม่เชื่อกรรม ผลของกรรม นรกสวรรค์เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะสมัยที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็ไม่เคยศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาเลย ไม่เข้าหาพระภิกษุสามเณรผู้รู้ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งสามารถชี้แจงโลกนี้โลกหน้าได้กระจ่างชัด แต่กลับไปคบหานักบวชอื่นหรือพระภิกษุและพุทธศาสนิกชนที่ไม่เชื่อเรื่องโลกนี้โลกหน้า จึงไม่ฉลาดในวิธีอุทิศส่วนกุศล บุตรธิดาจึงได้แบบอย่างที่ไม่ถูกต้องตามตนเอง เมื่อถึงคราวต้องการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย จึงทำไม่ถูกวิธีเช่นกัน นี้ก็เป็นผู้ผิดพลาดข้อที่ 3 ของผู้ตาย
HTMLText_CFD7EC1E_81D2_A2B4_41D7_277E85A33929.html =
การทำบุญให้คนตายตามหลักผู้รู้ที่สมบูรณ์


หลังจากที่ญาติมิตรล่วงลับไปแล้ว มีสิ่งที่คนเป็นอยู่ต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ตาย คือ การปฏิบัติตามธรรมเนียมของท่านผู้รู้ที่สมบูรณ์ (สัพพัญญูพุทธเจ้า) คือ
1.) ไม่พึงสวดอ้อนวอนให้ไปดี หรือสาปแช่งให้ผู้ตายไปไม่ดี
ในบางลัทธิศาสนา มีการสวดอ้อนวอนให้ผู้ตายเพื่อหวังให้ผู้ตายไปแล้ว ได้ไปอยู่ร่วมกับเทพเจ้าของตน หรือไม่ก็สวดสาปแช่งศัตรูให้ไปสู่อบาย ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นนอกจากจะไม่มีประโยชน์ ยังทำให้จิตใจผู้ทำเศร้าหมองด้วยโมหะอีกด้วย เพราะผู้ทำกรรมใดไว้ในโลกนี้ ก็ย่อมต้องเสวยผลแห่งกรรมที่ตนทำเองทั้งในโลกนี้และโลกหน้า การทำเพียงสวดอ้อนวอนจึงไม่มีประโยชน์อะไร (ดูในภูมกสูตร)
2.) พึงทำบุญอุทิศให้
การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับถือว่าเป็นหน้าที่หนึ่งของคนที่ยังเป็นอยู่ทีเดียว เป็นสิ่งที่คนทุกชาติทุกศาสนาควรศึกษาไว้ให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ล่วงลับไปแล้วในภูมิอื่น (เว้นมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉาน) ย่อมไม่มีการทำมาหากินเลย ผู้ล่วงลับไปจะมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับกรรมดีกรรมชั่วที่ตนเองกระทำตอนเป็นมนุษย์ และเพราะอาศัยการทำบุญอุทิศให้ของผู้ที่ยังเป็นอยู่ในโลกมนุษย์นี้เท่านั้น และการทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับก็ต้องทำกับผู้รับที่มีศีลมีธรรมเท่านั้น เช่น พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัย บุญนั้นจึงจะถึงแก่ผู้ตายไปอย่างแน่นอน ตามภูมิตามกำเนิดที่สามารถรับผลบุญที่อุทิศให้ แต่ถ้าทำกับผู้รับที่ไม่มีศีลธรรม บุญก็จะไม่ถึงแก่ผู้ตาย
ส่วนกิจอื่น เช่น การร้องไห้คร่ำครวญ การแสดงอาการเศร้าโศก การสวดอ้อนวอนฝากกับเทพเจ้า การเล่นมหรสพ เป็นต้น ซึ่งบางท้องถิ่นยังนิยมทำกันจนเป็นประเพณี เป็นต้นว่ามีการจ้างนักร้องมาร้องเพลงเศร้า เช่น มอญครวญ มอญร้องไห้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่สมควรทำเลย เพราะไม่มีประโยชน์อะไรทั้งแก่ผู้เป็นอยู่และผู้ตาย มีแต่จะสิ้นเปลืองไป และเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี นอกจากไม่ได้บุญกุศลอะไรแล้ว ซ้ำร้ายยังทำจิตใจให้เศร้าหมองด้วยบาปอกุศลทั้งฝ่ายคนเป็นอยู่และผู้ที่ตายไปอีกด้วย เพราะทำไปด้วยความเห็นผิดเข้าใจผิด
2.1. วิธีอุทิศบุญให้ถึงแก่ผู้ตาย
นอกจากนี้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถายังแสดงว่า ทักษิณา คือผลบุญที่ญาติสาโลหิตอุทิศให้ย่อมสำเร็จผลให้เป็นสมบัติมีอาหาร ที่พัก เครื่องนุ่งห่มเป็นต้นแก่ผู้ล่วงลับในขณะนั้นได้ ก็ด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1) ด้วยการถึงพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล เช่น พระภิกษุ สามเณรผู้มีศีลบริสุทธิ์
2) ด้วยการอุทิศของทายกทั้งหลาย
3) ด้วยการอนุโมทนาด้วยตนเองของเปรตทั้งหลาย
ในองค์ประกอบทั้ง 3 นั้น องค์ที่ 1 และ 2 ขาดไม่ได้ ส่วนองค์ที่ 3 ขาดได้ เพราะแม้เปรตจะไม่อนุโมทนาบุญด้วยตนเอง บุญที่ญาติอุทิศให้ก็ยังคงไปถึงได้บ้าง หากมีผู้สงสัยว่า เปรตจำพวกไหนบ้างที่ได้สามารถได้รับผลบุญที่หมู่ญาติอุทิศให้ พระอรรถกถาจารย์ตอบว่า
“ฐานะใด ตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้น ย่อมสำเร็จผลแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในปิตติวิสัยใด ปิตติวิสัยนั้นแล เป็นฐานะดังนี้ ทักษิณาที่สำเร็จผลในฐานะนั้น อันแตกต่างกันโดยประเภทแห่งเปรตมี ขุปปิปาสิกเปรต วันตาสาเปรต ปรทัตตูปชีวีเปรต และนิชฌามตัณหิกเปรต เป็นต้น ก็ตรัสว่า ย่อมสำเร็จผลโดยฐานะ” สรุปคือ เปรตทุกจำพวกสามารถได้รับผลบุญที่ญาติมิตรอุทิศให้ได้


ข้อที่ควรคำนึงของผู้จะตาย !


จากข้อความข้างต้นนี้ มีสิ่งที่น่าพิจารณาอยู่ว่า ถ้าผู้ตายสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่เคยศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาเลย หรือศึกษาแต่ผิวเผินเพราะความไม่ใส่ใจ ไม่ทุ่มเทในการประกอบบุญกุศลในโลกนี้ เมื่อละโลกไปแล้ว แม้มีผู้อุทิศส่วนกุศลให้ แต่ตนอนุโมทนาบุญไม่เป็นก็ย่อมไม่ได้รับส่วนบุญเท่าที่ควร นี้เป็นข้อผิดพลาดของตนคือผู้ตายข้อที่ 1
หรือลูกหลานทะเลาะกันเรื่องแบ่งสมบัติ ซึ่งเราได้เห็นได้ยินกันอยู่ทั่วไป พ่อแม่จวนตาย ลูกหลานแย่งสมบัติกัน บางทีฆ่ากันตายก่อนพ่อแม่ก็มี ตนเองก็ต้องมาทุกข์ใจก่อนตาย เพราะสมบัติของตนเป็นเหตุ เมื่อตายไป จึงไม่มีใครอุทิศส่วนกุศลให้เลย เพราะตนเองมิได้คบหากับบัณฑิตทางธรรมและไมเคยทำแบบอย่างเช่นนี้ไว้ให้ลูกหลานดูเลย นี้เป็นข้อผิดพลาดของตนข้อที่ 2
และข้อสุดท้าย แม้บุตรธิดาทำบุญอุทิศให้ แต่ทำไม่ถูกเนื้อนาบุญ เช่น ทำบุญกับผู้ทุศีล มีความเห็นผิด ไม่เชื่อกรรม ผลของกรรม นรกสวรรค์เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะสมัยที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็ไม่เคยศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาเลย ไม่เข้าหาพระภิกษุสามเณรผู้รู้ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งสามารถชี้แจงโลกนี้โลกหน้าได้กระจ่างชัด แต่กลับไปคบหานักบวชอื่นหรือพระภิกษุและพุทธศาสนิกชนที่ไม่เชื่อเรื่องโลกนี้โลกหน้า จึงไม่ฉลาดในวิธีอุทิศส่วนกุศล บุตรธิดาจึงได้แบบอย่างที่ไม่ถูกต้องตามตนเอง เมื่อถึงคราวต้องการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย จึงทำไม่ถูกวิธีเช่นกัน นี้ก็เป็นผู้ผิดพลาดข้อที่ 3 ของผู้ตาย
## Tour ### Description tour.description = ความหมาย และความสำคัญการฟังสวดพระอภิธรรม และพิธีบำเพ็ญกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับ ### Title tour.name = การบำเพ็ญกุศลฟังสวดพระอภิธรรม Virtual